ยินดีต้อนรับ - Welcome

ยินดีต้อนรับ - Welcome - Bienvenu - Bienvenido - Benvenuto - ευπρόσδεκτος - желанный - רצוי - 受歡迎 - 환영받는 - مرحب بهइच्छित

ตัวฉัน ... My self

ปฏิทินของฉัน ... My Calendar

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเตรียมตัวก่อนเดินทางไปต่างประเทศ



การเตรียมตัวก่อนเดินทางไปต่างประเทศ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรจะสอบถามแพทย์ประจำตัวของท่านว่า สามารถเดินทางไกลได้หรือไม่ ถ้าได้ ก็ต้องเตรียมยาประจำตัวที่ใช้ทุกวันไปให้พร้อม ซึ่งมีความสำคัญพอๆ กับพาสปอร์ตเลยทีเดียว เพราะหากเดินทางโดยไม่มียา และเกิดปัญหาขึ้นบนเครื่องบิน การแก้ไขปัญหาอาจทำไม่ได้หรือทำได้ก็อาจไม่ทันเวลา ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอาจมีระดับของน้ำตาลในเลือดสูงมากเกินไป หรือผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หากไม่ได้รับยา เพื่อควบคุมความดัน อาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน
เสื้อผ้า
  1. ศึกษาสภาพภูมิอากาศของเมืองที่กำลังจะเดินทางไปอยู่ และเตรียมเสื้อผ้าที่เหมาะสมไปให้พอใช้ในช่วงแรก
  2. เสื้อผ้าสำหรับอากาศหนาวจัดสามารถซื้อได้เพิ่มเติมเมื่อเดินทางไปถึงแล้วโดยทั่วไปเสื้อผ้าที่จะได้ใช้มากที่สุดควรจะเป็นกางเกงยีนส์ เพราะนอกจากจะสบายสมบุกสมบันแล้ว ยังไม่ค่อยต้องซัก และไม่ต้องรีดด้วย
  3. สำหรับเสื้อผ้าที่ไม่ค่อยได้ใช้บ่อยนัก พิจารณาจัดเตรียมไปเฉพาะเพื่อใช้ในโอกาสพิเศษเท่านั้น
การประกันสุขภาพ
  1. การประกันสุขภาพมีความจำเป็นสำหรับนักเรียนต่างชาติมาก เพราะหากเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา ค่ารักษาพยาบาลในสหรัฐอเมริกาแพงมาก ดังนั้น หากมีการประกันแล้วจะเป็นประโยชน์ และช่วยประหยัดเงินได้มาก
  2. โดยปกติแล้ว สถานศึกษาทุกแห่งจะมีการแจ้งให้นักเรียนซื้อประกันสุขภาพได้ เมื่อเปิดภาคการศึกษานักเรียนควรจะปฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่ง การประกันสุขภาพมีได้หลายชนิดซึ่งแต่ละชนิดการประกันครอบคลุมแตกต่างกัน และอัตราในการประกันแตกต่างกัน
  3. ควรศึกษานโยบายการประกันให้เข้าใจก่อนว่ามีผลอย่างไรบ้าง และหากเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาจะได้ทราบว่า เราสามารถจะเรียกร้องจากบริษัทประกันได้หรือไม่เพียงใด
ยาสามัญทั่วไป
การเตรียมยาสามัญทั่วๆไป ที่เวลาเดินทางอาจเกิดปัญหาได้เช่น ยาแก้ปวด (พาราเซทามอล), ยาลดน้ำมูก, ยาแก้แพ้, ยาแก้ท้องอืด, ยาแก้ปวดท้อง, ยาลดกรด, ยาแก้ท้องเสีย, ยาแก้เมารถ, ยาแก้เวียนศีรษะ, ยานอนหลับ ทั้งนี้อาจต้องสอบถาม วิธีรับประทานจากแพทย์ประจำตัวของท่านด้วย
เมลาโตนิน
หากเวลาที่จุดหมายปลายทางแตกต่างจากเวลาของจุดเริ่มต้นมากจะทำให้การปรับเวลาทำได้ช้า ฮอร์โมนที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่นักเดินทาง คือ เมลาโตนิน ขนาดที่ขายกันในท้องตลาดในต่างประเทศมีหลากหลาย เช่น 300 ไมโครกรัม, 1 มิลลิกรัม, 3 มิลลิกรัม โดยทั่วๆไปแล้ววันแรกของการปรับเปลี่ยนเวลาจะใช้ขนาดที่สูงกว่าวันต่อๆมา ยกตัวอย่างในสองวันแรกอาจใช้ยาขนาด 1 มิลลิกรัม วันที่สามและสี่ อาจใช้ 600 ไมโครกรัม และในวันที่ห้าหกใช้ขนาด 300 ไมโครกรัม อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและอายุ หากน้ำหนักมากกว่า 70 กิโลกรัมอาจต้องใช้ยามากขึ้น ในขณะที่หากอายุมากกว่า 60 ปี อาจต้องใช้ขนาดยาที่ลดลง อย่างไรก็ตามหากไม่มีเมลาโตนิน การใช้ยานอนหลับหรือยาแก้แพ้ก็สามารถจะช่วยในการปรับเวลาได้เช่นกัน
ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยเมื่ออยู่บนเครื่องบิน
  1. ปฎิบัติตามกฎระเบียบของสายการบินโดยเคร่งครัด
  2. ฟังและชม คำแนะนำของแอร์โฮสเตท ทุกครั้ง แม้จะเป็นเรื่องที่รู้อยู่แล้ว สำหรับผู้ที่เดินทางเป็นประจำ แต่การรับฟังรับชม ซ้ำๆ จะช่วยให้ติดอยู่ในความทรงจำ แม้ในยามฉุกเฉินก็จะสามารถปฎิบัติได้โดยอัตโนมัติ
  3. สำรวจเข็มขัดนิรภัย โดยทดลองใส่เข้าและถอดออก เพื่อมั่นใจว่าเข็มขัดนิรภัยใช้ได้ เนื่องจากเข็มขัดนิรภัยที่อยู่บนเครื่องบิน จะมีความแตกต่างจาก เข็มขัดนิรภัยที่อยู่บนรถคือ เข็มขัดนิรภัยที่อยู่บนรถจะเป็นลักษณะกดเพื่อปลดล็อค แต่ เข็มขัดนิรภัยที่อยู่บนเครื่องบินจะเป็นลักษณะดึงตัวล็อคขึ้นมาเพื่อปลดล็อค
  4. ไม่ควรเดินไปมา บนเครื่องโดยไม่จำเป็น ขณะที่เครื่องขึ้น-ลง ทุกคนจะถูกเตือนให้นั่งและรัดเข็มขัดนิรภัยอยู่แล้ว แต่ในช่วงที่เครื่องขึ้นในระดับเพดานบินที่ปลอดภัยแล้ว จะมีสัญญานแจ้งว่า สามารถปลดเข็มขัดนิรภัยได้ ซึ่งหากไม่มีความจำเป็นใด ก็ไม่ควรปลดเข็มขัดนิรภัยออก นอกจากนี้การเดินไปมาบนเครื่องควรทำเท่าที่จำเป็น เช่น เดินเข้าห้องน้ำ เท่านั้น เนื่องจากในบางครั้งการทรงตัวของเครื่องอาจเกิดความผิดปกติได้ เช่น การตกหลุมอากาศ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้โดยสารได้
  5. สังเกตประตูทางออกฉุกเฉิน โดยปกติทางออกฉุกเฉินจะมีอยู่ทั้งด้านหน้า กลาง ด้านหลัง และ ด้านซ้ายหรือด้านขวาของเครื่องบิน ในขณะอยู่บนเครื่องควรสังเกตและจดจำไว้ ในกรณีที่จำเป็นจะได้ออกทางประตูฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว
  6. ควบคุมอารมณ์และมีสติอยู่เสมอ เรื่องที่สำคัญในทุกสถานการณ์คือ การมีสติ จะช่วยให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์เลวร้ายได้ในทุกกรณีเป็นอย่างดี
สิ่งที่ควรระวังในการเดินทางไปประเทศต่างๆ บางประการ
  1. ประเทศเนปาล เกิดปัญหาทางการเมืองที่รุนแรง มีการปฏิวัติการปกครอง หลายครั้ง ทำให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงถึงขั้นนองเลือด ระหว่างประชาชน ผู้ปกครองประเทศ จึงควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ โดยเฉพาะในเมืองหลวงของประเทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ หน่วยงานของผู้ปกครองประเทศ
  2. ประเทศเขมร เป็นประเทศยากจนประเทศหนึ่ง จึงมีขอทานเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็ก การให้เงินหรือสิ่งของกับขอทานเป็นเรื่องที่ท่านต้องพิจารณาเป็นพิเศษ เนื่องจากเมื่อท่านให้เงินเด็กขอทานไปหนึ่งคน จะมีเด็กขอทานอีกเป็นจำนวนมาก ตรงมายังท่าน รุมล้อมหน้าล้อมหลังเพื่อขอเงินจากท่านอีกเป็นเวลานาน หรือจนกระทั่งท่านออกจากสถานที่แห่งนั้น เนื่องจากสงครามที่เกิดขึ้นในประเทศ ทำให้ในบางพื้นที่ เช่น พื้นที่นารกร้าง พื้นที่ป่า บางแห่ง ยังคงมี ระเบิด หรือ กับระเบิดหลงเหลืออยู่ ยกเว้นในสถานที่ท่องเที่ยวหลักๆ ของประเทศ เช่น ปราสาทนครวัด นครธม หรือ สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ดังนั้นท่านไม่ควรเดินออกนอกเส้นทางหากไม่จำเป็น
  3. ประเทศเกาหลีใต้ แม้ว่าประเทศเกาหลีใต้ จะมีนโยบายส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว แต่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของประเทศ ยังคงเคร่งครัดต่อนักท่องเที่ยวบางประเทศมาก รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยด้วย เนื่องจากเขากลัวว่าผู้ที่เข้าประเทศบางส่วนจะหลบหนีเข้าไปทำงานอย่างไม่ถูกขั้นตอน ดังนั้นในการเดินทางเข้าประเทศเกาหลีใต้แม้ว่าจะตั้งใจไปเที่ยวจริง ก็ต้องสมควรระมัดระวังในหลายเรื่อง เช่น การแต่งกาย และลักษณะท่าทางการแสดงออก
  4. ประเทศจีน สถานที่เที่ยวในประเทศจีน ส่วนใหญ่จะมีพื้นที่กว้าง และ อยู่ห่างกันมาก หรือต้องขึ้นบันไดสูง ดังนั้น ผู้ที่จะท่องเที่ยวควรมีสุขภาพที่แข็งแรง มีร่างกายพร้อมที่จะเดินเป็นระยะทางไกลๆ ได้สะดวก
วัคซีนที่ควรพิจารณาก่อนเดินทางและท่องเที่ยว
  1. วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A)
  2. วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B)
  3. วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ (JE)
  4. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
  5. วัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ (Typhoid)
  6. วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
  7. วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal)
  8. วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ (Polio)
การเลือกที่นั่งบนเครื่องบิน
  1. ที่นั่งริมหน้าต่าง มีข้อดีคือท่านสามารถชมวิวทิวทัศน์ที่อยู่นอกหน้าต่างได้ แต่ในการเดินทางระยะไกล อาจไม่สะดวกหากต้องลุกออกจากที่นั่งเพื่อเข้าห้องน้ำหรือทำธุระอื่นๆ ซึ่งจะต้องลุกเดินผ่านที่นั่งด้านข้างเคียง ในกรณีที่เป็นคนแปลกหน้า อาจทำให้เกิดความรำคาญถ้าต้องเดินเข้า-ออก หลายครั้ง แต่หากเป็นคนรู้จักกันปัญหาคงน้อยลง ในกรณีที่คาดว่าจะต้องลุกออกจากที่นั่งบ่อยครั้ง ขอแนะนำให้เลือกที่นั่งด้านริมทางเดินจะสะดวกกว่า
  2. สำหรับการเลือกที่นั่งตอนหน้าหรือหลังของเครื่อง จะขึ้นกับประเภทของที่นั่งที่ท่านทำการจองไว้ แต่หากเป็นประเภทเดียวกัน การเลือกที่นั่งช่วงที่ห่างจากห้องน้ำ จะมีความเป็นส่วนตัวมากกว่าเนื่องจากผู้โดยสารที่เดินผ่านไป-มา แต่หากท่านคาดว่าจะต้องเข้าห้องน้ำหลายครั้ง หรือ ไม่สะดวกในการเดินอาจเลือกช่วงที่ใกล้ห้องน้ำก็แล้วแต่
  3. นอกจากนี้การเลือกที่นั่งตอนหน้าจะได้รับการบริการจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินก่อน เช่นการเสริฟอาหาร เนื่องจากขั้นตอนในการให้บริการ
  4. ในปัจจุบันนี้สายการบินเกือบทุกสายการบินมักกำหนดให้เป็นเที่ยวบินปลอดบุหรี่ จึงไม่จำเป็นต้องเลือกที่นั่งเป็นพื้นที่สูบบุหรี่หรือไม่
การแจ้งนำของใช้ส่วนตัวไปต่างประเทศ
  1. ถ้าต้องการนำของใช้ส่วนตัวออกไประหว่างการเดินทาง เช่น กล้องถ่ายวีดีโอ กล้องถ่ายรูป วิทยุ-เทป ฯลฯ และประสงค์จะนำกลับเข้ามาในประเทศจะต้องแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อสิทธิในการยกเว้นภาษีอากร
  2. ของต้องห้ามในการนำออกนอกราชอาณาจักร ได้แก่ ยาเสพติดให้โทษ วัตถุระเบิด
  3. ของต้องจำกัดในการนำออกนอกราชอาณาจักร หมายถึงสิ่งของบางชนิดที่มีกฎหมายควบคุมการส่งออกผู้ที่ประสงค์จะนำหรือส่งออกไปต้องได้รับอนุญาตเป็น หนังสือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และนำมาเสนอต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรขณะนำออกด้วย เช่น พระพุทธรูป ศาสนวัตถุ โบราณวัตถุ สัตว์สงวนหรือสัตว์เลี้ยง เช่น นก ลิง แมว พันธุ์พืช เช่น ทุเรียน ลำไย อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น