ยินดีต้อนรับ - Welcome

ยินดีต้อนรับ - Welcome - Bienvenu - Bienvenido - Benvenuto - ευπρόσδεκτος - желанный - רצוי - 受歡迎 - 환영받는 - مرحب بهइच्छित

ตัวฉัน ... My self

ปฏิทินของฉัน ... My Calendar

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นั่งเครื่องบินไม่เสี่ยงติดโรคอย่างที่คิด

นั่งเครื่องบินไม่เสี่ยงติดโรคอย่างที่คิด
   
           เอเอฟพี - ผลการศึกษาล่าสุดพบ อากาศภายในห้องผู้โดยสารของสายการบินทั่วไป แทบไม่มีส่วนช่วยแพร่กระจายเชื้อไข้หวัด หรือโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ตามที่หลายฝ่ายหวาดวิตก
      
        แลนซิท วารสารการแพทย์รายสัปดาห์ชื่อดังของอังกฤษ ซึ่งวางแผงเสาร์นี้ (12) ระบุว่า "สายการบินพาณิชย์มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการแพร่เชื้อโรคซึ่งมากับผู้โดยสารและลูกเรือ แต่ระบบควบคุมสิ่งแวดล้อมที่ติดตั้งในสายการบินเหล่านี้ อาจควบคุมการแพร่เชื้อทางอากาศได้ อีกทั้งความเสี่ยงที่คาดคิดกันก็รุนแรงเกินกว่าความเป็นจริง"
      
        ผลการศึกษาครั้งนี้สวนทางกับจำนวนผู้โดยสารสายการบินที่ลดลง ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากความหวั่นเกรงการแพร่ระบาดของไวรัสระบบทางเดินหายใจชนิดใหม่อย่างโรคซาร์ส และไข้หวัดนก ตลอดจนการก่อการร้ายด้วยอาวุธชีวภาพ เช่น ไข้ทรพิษ เหล่านี้ทำให้ข้อกังขาเกี่ยวกับความปลอดภัยของระบบระบายอากาศบนเครื่องบินยิ่งเพิ่มขึ้น
      
        กระนั้น นักวิจัย นำโดยมาร์ค เกนดรู แห่งแผนกการแพทย์ฉุกเฉินของศูนย์การแพทย์ลาฮีย์ คลินิก ในรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า ข้อมูลที่ดีที่สุดในปัจจุบันบ่งชี้ว่า สายการบินที่ทันสมัยไม่ได้เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคมากไปกว่าพื้นที่จำกัดอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ออฟฟิศ
      
        สายการบินที่มีการรักษาระดับความกดอากาศจะดูดอากาศในห้องผู้โดยสารผ่านห้องเครื่อง อากาศเหล่านั้นจะไหลเวียนผ่านความร้อน แรงบีบอัด และความเย็น ก่อนจะปล่อยกลับเข้าสู่ห้องโดยสารอีกครั้งด้วยระบบระบายอากาศ
      
        เครื่องบินพาณิชย์เกือบทั้งหมดที่ให้บริการ มีการหมุนเวียนของอากาศในห้องผู้โดยสาร 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนหนึ่งเพื่อประหยัดค่าเชื้อเพลิง อย่างไรก็ดี นักวิจัยบอกว่า โอกาสในการแพร่กระจายของไวรัส หรือจุลินทรีย์ผ่านระบบรีไซเคิลนี้ ลดลงด้วยเหตุหลายปัจจัย
      
        โดยปกติ อากาศที่ถูกรีไซเคิลจะไหลเวียนผ่านเครื่องกรองประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถขจัดฝุ่นละออง ไอน้ำ แบคทีเรีย และเชื้อรา รวมถึงดักจับอณูไวรัส ได้ถึง 99.97 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ เนื่องจากเชื้อโรคพวกนี้ส่วนใหญ่ฟุ้งกระจายมากับละอองของเหลวจากผู้ที่ไอ หรือจาม
      
        นอกจากนั้น ดีไซน์ของระบบระบายอากาศก็เป็นอีกปัจจัยที่สามารถควบคุมการแพร่กระจายของอนุภาคต่างๆ แม้แต่ในห้องผู้โดยสาร
      
        ทีมของเกนดรู บอกว่า อากาศบนเครื่องบินมีการเปลี่ยนแปลงถี่กว่าภายในอาคารที่ทำงานทั่วไปมาก อีกทั้งการไหลเวียนยังเป็นแบบจากด้านข้างสู่ด้านข้าง เข้าสู่ห้องโดยสารจากเหนือศีรษะ และดูดออกทางพื้นห้อง นั่นหมายความว่า โอกาสที่ผู้โดยสารแถวหลังจะติดเชื้อจากการจามของผู้ที่นั่งแถวหน้าจึงมีความเสี่ยงน้อยมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น